แคสเปอร์สกี้เผย ผู้ใช้โซเชียลมีเดียอาเซียน 76% ตระหนักภัยไซเบอร์ ไม่เก็บข้อมูลการเงินไว้ในออนไลน์

หากคุณหวั่นใจทุกครั้งที่ต้องกรอกข้อมูลเครดิตการ์ด หรือข้อมูลการเงินลงในเว็บไซต์ช้อปปิ้งหรือในแอปชำระเงิน คุณไม่ใช่คนเดียวแน่นอน

อย่างน้อยตามข้อมูลการสำรวจเรื่อง “Making Sense of Our Place in the Digital Reputation Economy” โดยแคสเปอร์สกี้ บริษัทด้านความปลอดภัยทางไซเบอร์และความเป็นส่วนตัวทางดิจิทัลระดับโลก พบว่าข้อมูลส่วนบุคคลบางประเภทนั้น ถือเป็นของศักดิ์สิทธิ์อย่างยิ่งสำหรับผู้ใช้โซเชียลมีเดียในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ และโดยมากมักเลือกไม่แชร์หรือเก็บทางออนไลน์

ผู้เข้าร่วมการสำรวจส่วนมาก (76%) จากทั้งหมด 861 คนในภูมิภาคนี้ยืนยันความตั้งใจที่จะเก็บข้อมูลที่เกี่ยวกับเรื่องเงินๆ ทองๆ เช่น รายละเอียดบัตรเดบิต บัตรเครดิต ให้ห่างจากอินเทอร์เน็ตเป็นอันดับหนึ่ง

อัตราส่วนของกลุ่มคนที่เลือกที่จะไม่เก็บข้อมูลการเงินทางออนไลน์ มีอัตราสูงที่สุดในกลุ่ม Baby Boomers (85%) ตามด้วย Gen X (81%) และมิลเลนเนียล (75%) ในขณะที่เจเนเรชั่นที่เด็กที่สุด Gen Z นั้นเพียง 68%

ไม่ใช่เรื่องแปลก จากงานวิจัยหลายชิ้นต่างระบุถึงประชากรรุ่นใหม่ของภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ว่าเป็นตัวหลักสำคัญในการขับเคลื่อนไปสู่ระบบการชำระเงินทางอิเล็กทรอนิกส์ รวมไปถึงประชากรจำนวนมากในภูมิภาคที่ยังเข้าไม่ถึงบริการการเงิน หรือยังไม่ได้โอกาสใช้บริการการเงิน และอัตราการใช้งานอุปกรณ์โมบายที่เป็นที่นิยม รวมทั้งการผลักดันจากภาครัฐให้ใช้ระบบการชำระเงินแบบดิจิทัล

 

ประชากรในภูมิภาคนี้ที่ใช้แพลตฟอร์มโซเชียลเน็ตเวิร์กยังไม่นิยมที่จะแสดงข้อมูลที่ระบุตัวตน (personally identifiable information หรือ PII) คิดเป็น 69% ไม่นิยมแสดงข้อมูลเกี่ยวกับญาติสนิทคนใกล้ตัว 64% ข้อมูลเกี่ยวกับจุดที่อยู่ 54% และข้อมูลเกี่ยวกับการงาน 47%

และเมื่อพูดถึงกลุ่มที่ผู้ใช้โซเชียลมีเดียต้องการปกปิดข้อมูลให้พ้นสายตา ก็เกือบจะเป็นเสียงเดียวกันทั้งหมดว่าคงจะน่ากังวลเอามากๆ หากข้อมูลเหล่านี้จะเป็นเป้าสายตาหรือถูกผู้ร้ายไซเบอร์โจรกรรมไปได้ง่ายๆ (73%) และคนแปลกหน้าสุ่มๆ ทั่วไปทางออนไลน์ (61%)

นายคริส คอนเนลล์ กรรมการผู้จัดการประจำภูมิภาคเอเชียแปซิฟิก แคสเปอร์สกี้ กล่าวว่า “วิกฤตด้านสุขภาพเร่งผลักดันการปรับเปลี่ยนสู่สังคมไร้เงินสดของภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้อย่างรวดเร็ว ตีคู่ไปกันกับการปรับเปลี่ยนจากออฟไลน์สู่ออนไลน์ของกิจกรรมส่วนมากในภูมิภาคตั้งแต่ปีที่แล้ว จริงแล้วก็เป็นที่น่ายินดีว่ายูสเซอร์ที่นี่ตอนนี้ก็คิดไตร่ตรองถี่ถ้วนเกี่ยวกับข้อมูลที่แชร์หรือไม่แชร์ทางออนไลน์ ส่วนมากตระหนักถึงความสำคัญของข้อมูลที่ไม่ควรตกอยู่ในมือของผู้ร้ายไซเบอร์หรือคนแปลกหน้าทางออนไลน์ แต่อย่างไรก็ตาม การตระหนักรู้ก็ไม่เท่ากับการลงมือทำ”

ผู้เข้าร่วมการสำรวจส่วนมาก (71%) ใช้รหัสผ่านเพื่อป้องกันแล็ปท็อปหรือโทรศัพท์มือถือ มีผู้ใช้เพียง 5 ใน 10 คน (54%) ที่ตรวจเช็คและเปลี่ยนค่าความเป็นส่วนตัวบนอุปกรณ์ที่ใช้งาน แอป หรือบริการที่ใช้ และผู้ใช้เพียง 4 ใน 10 คน (47%) ที่เลี่ยงการใช้ซอฟต์แวร์หรือแอปพลิเคชั่นที่ไม่ถูกกฎหมาย

การสำรวจเดียวกันนี้ ดำเนินการไปเมื่อเดือนพฤศจิกายน 2563 ยังได้เผยด้วยว่าเพียงครึ่งของผู้ตอบแบบสอบถาม (53%) ในภูมิภาคนี้ได้ติดตั้งซอฟต์แวร์ความปลอดภัยทางอินเทอร์เน็ตบนอุปกรณ์ที่ใช้อยู่

“ภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้เป็นภูมิภาคในเอเชียแปซิฟิกที่มีการใช้อินเทอร์เน็ตที่เติบโตเร็วที่สุด เราจะเห็นได้ว่านี่เป็นจุดเริ่มต้นการเดินทางสายดิจิทัลของภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ เข้าใจได้ว่าบางคนอาจจะยังกลัวและไม่แน่ใจเมื่อใช้บริการต่างๆ เช่น ชำระเงินแบบดิจิทัล เพราะว่ายังถือว่าใหม่อยู่มาก และย่อมมีความเสี่ยง และนี่คือความสำคัญของการที่เราต้องแปรความตระหนักรู้สู่การกระทำ” นายคริสกล่าวเสริม

ผู้เชี่ยวชาญจากแคสเปอร์สกี้แนะนำขั้นตอนต่างๆ เพื่อความปลอดภัยของข้อมูลทางการเงินและข้อมูลอ่อนไหวส่วนตัวต่างๆ ทางช่องทางออนไลน์ ดังต่อไปนี้

 

ระวังสิ่งที่คุณแชร์ทางโซเชียลมีเดีย

การโพสต์ข้อมูลต่างๆ มากมายเกินไปบนโซเชียลมีเดียเท่ากับเปิดช่องทางให้อาชญากรไซเบอร์ปะติดปะต่อข้อมูลเกี่ยวกับตัวคุณได้ เพื่อเป็นการเพิ่มความเป็นส่วนตัวทางออนไลน์ เป็นความคิดที่ดีที่จะทำดังต่อไปนี้

  • หลีกเลี่ยงการป่าวประกาศความเคลื่อนไหวต่างๆ ของคุณ เช่น แผนการท่องเที่ยว เพราะผู้คนก็จะรู้ว่าคุณไม่อยู่บ้านในช่วงเวลาดังกล่าว
  • หลีกเลี่ยงการเปิดเผยข้อมูลมากเกินไป เช่น วันเกิด หรือสถานที่ทำงานลงไว้ใน About Us หรือ เซ็คชั่นข้อมูลส่วนตัวในโปรไฟล์โซเชียลมีเดีย เลี่ยงการโพสต์ที่อยู่ที่บ้าน หรือเบอร์โทรศัพท์ลงไว้ตามฟอรั่มสาธารณะต่างๆ
  • ตรวจสอบการตั้งค่าบนโซเชียลมีเดียว่าใส่ข้อมูลโลเคชั่นลงตามโพสต์ต่างๆ ของตัวเองหรือไม่ ซึ่งถ้าเป็นเช่นนั้น แนะนำให้ยกเลิกค่านั้นไปเสีย เพราะไม่มีความจำเป็นที่คุณจะต้องแชร์โลเคชั่นให้คนทั้งโลกร่วมรับรู้
  • หลีกเลี่ยงการเล่นตอบคำถามทายใจต่างๆ ตามโซเชียลมีเดีย โดยมากมักเป็นคำถาม เช่น สัตว์เลี้ยงที่ชื่นชอบ หรือโรงเรียนเก่า คำถามประเภทเดียวกับที่ใช้สำหรับการตั้งค่าความปลอดภัย ดังนั้นคำตอบเหล่านี้ก็อาจจะเป็นการเปิดช่องให้แฮ็คกกอร์เจาะบัญชีออนไลน์ของเราได้
  • ระวังพวกของแจกและเกมแข่งขัน บางอย่างก็ถูกต้อง หลายๆ งานก็เป็นงานปลอมตัวมา หากคุณส่งต่อๆ กันไป ก็อาจจะเป็นการช่วยแพร่กระจายมัลแวร์หรือล่อให้คนหลงกลให้ข้อมูลส่วนตัวได้ง่ายๆ

 

เพิ่มการป้องกันความปลอดภัยให้แก่ โมบายดีไวซ์ของคุณ

  • รหัสที่คุณใช้เข้าโทรศัพท์ของคุณนั้นต้องเป็นรหัสที่ไม่สามารถเดาได้ง่าย และต้องดาวน์โหลดแอปและเกมจากแอปสโตร์ก็เป็นอีกข้อที่พึงกระทำเป็นพื้นฐาน
  • ห้ามเจลเบรคหรือรูทโทรศัพท์ เพราะจะเปิดทางให้แฮ็กเกอร์เข้ามาโอเวอร์ไรท์ค่าเซ็ตติ้งเพื่อลงมัลแวร์นั่นเอง
  • พิจารณาติดตั้งแอปที่เปิดให้คุณสามารถลบข้อมูลทั้งหมดบนโทรศัพท์ได้จากระยะไกล กรณีที่โทรศัพท์ถูกขโมยหรือสูญหาย ก็จะสามารถลบทิ้งได้ง่ายๆ
  • ตั้งค่าการอัพเดทต่างๆ ของซอฟต์แวร์ที่ใช้งานอยู่เสมอ และต้องระวังเมื่อจะคลิกลิ้งก์ออนไลน์ใดๆ แบบเดียวกับที่คุณต้องระวังเมื่อใช้เครื่องคอมพิวเตอร์ของคุณ
  • ใช้ทั้งโซลูชั่นเพื่อความปลอดภัยและขั้นตอนการป้องกันความปลอดภัยที่เหมาะสมไปพร้อมๆ กันจะช่วยลดภัยคุกคามและป้องกันข้อมูลของคุณให้ปลอดภัยได้ทางออนไลน์
  • ใช้โซลูชั่นเพื่อความปลอดภัยที่วางใจได้เพื่อการป้องกันที่ครบถ้วนพ้นภัยคุกคามทุกประเภท เช่น Kaspersky Security Cloud และ Kaspersky Internet Security ควบคู่ไปกับการใช้ Kaspersky Password Manager เพื่อเก็บข้อมูลดิจิทัลที่มีค่าของคุณ ซึ่งสามารถช่วยแก้ปัญหาเกี่ยวกับการเก็บข้อมูลส่วนตัวให้ได้ปลอดภัย